ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ เชียงใหม่ พัฒนาโซลูชั่นอุปกรณ์สำหรับ HALAL SMART FARM ทั้งระบบเซนเซอร์ กล่องควบคุมบริหารจัดการฟาร์ม ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีซอฟท์แวร์Innergy Lab ได้พัฒนาต่อยอดอุปกรณ์บริหารจัดการฟาร์มในภาคเหนือ เพื่อช่วยผลักดันกลุ่มเกษตรกรในภาคเหนือ จึงร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์และสำรวจพื้นที่เพื่อทำต้นแบบศูนย์การเรียนรู้สำหรับการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อรองรับอุตสาอาหารฮาลาลเพื่อสุขภาพที่เติบโตขึ้นในปัจจุบันโดยเฉพาะเทคโนโลยีในโรงเรือน (indoor) แปลงปลูก (outdoor) และ การปลูกพืชในน้ำที่มีสารละลายอาหาร (hydroponics) ขณะนี้ทางศูนย์ฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจและพัฒนาอุปกรณ์ เตรียมพร้อมสำหรับจัดส่งรายการอุปกรณ์ในแต่ละชุดและตัวอย่างรูปแบบตู้ชุดการเรียน ให้กับเกษตรกรติดตั้งอุปกรณ์ให้ถูกต้องและเหมาะสมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ทั้งหมดนี้ทางศูนย์ฯ มีความตั้งใจในการส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรก้าวสู่ Smart Farm ให้เกษรตรกรได้เข้าถึงนวัตกรรม และเทคโนโลยี เป็นการสร้างโอกาสให้กับเกษตรสมัยใหม่ และสังคม
โครงการ Halal Smart Farm ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาฯ เชียงใหม่ ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยี Innergy Lab ได้พัฒนาโซลูชั่นอุปกรณ์สำหรับ HALAL SMART FARM ระบบเซนเซอร์ กล่องควบคุมบริหารจัดการฟาร์มโดยพัฒนาอุปกรณ์และสำรวจพื้นที่เพื่อทำต้นแบบศูนย์การเรียนรู้สำหรับการปลูกพืชสมุนไพร ชุดการเรียนรู้ดังกล่าวประกอบด้วย 1. ระบบ Water Irrigation & Sensor: สำหรับแสดงการทำงานของระบบน้ำและเซนเซอร์ในฟาร์ม เช่น การทำระบบพ่นหมอก การจ่ายน้ำ การวัดอุณหภูมิน้ำ การตรวจวัด EC ในน้ำ การตรวจวัด PH ในน้ำ การตรวจวัดระดับน้ำ 2. ระบบ Hydroponics: สำหรับแสดงการทำงานของระบบ hydroponics เช่น การจ่ายน้ำ การวัดอุณหภูมิน้ำ การตรวจวัด EC ในน้ำ การตรวจวัด PH ในน้ำ การตรวจวัดระดับน้ำ 3. ระบบ Controller: สำหรับแสดงการทำงานของการควบคุมระบบบริหารจัดการฟาร์มอัจฉริยะ ควบคุมการสั่งงานระบบน้ำทั้งปั้มน้ำ และปั้มพ่นหมอก 4. ระบบ Network: สำหรับแสดงการทำงานของระบบเน็ตเวิร์ค เช่น การทำงานระบบกล้อง CCTV ระบบสื่อสารสำหรับการบริหารจัดการฟาร์ม 5. ระบบ Power system: สำหรับแสดงการทำงานของระบบไฟฟ้าภายในฟาร์ม เช่นควบคุมกระแสไฟฟ้า ขณะนี้ทางศูนย์ฯ ได้มีการลงพื้นที่สำรวจ และพัฒนาอุปกรณ์ เตรียมพร้อมสำหรับจัดส่งรายการอุปกรณ์ในแต่ละชุด และตัวอย่างรูปแบบตู้ชุดการเรียนรู้ ให้กับเกษตรกรติดตั้งอุปกรณ์ให้ถูกต้องและเหมาะสมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ทั้งหมดนี้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรก้าวสู่ Smart Farm ให้เกษรตรกรได้เข้าถึงนวัตกรรม และเทคโนโลยี เป็นการสร้างโอกาสให้กับเกษตรสมัยใหม่ และสังคม
โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรนักพัฒนาหัตถกรรมอัฉริยะ (Smart Craft) ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (Internet of things) จัดทำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการดีไซน์ร่วมกับการออกแบบ Function โดยผลิตภัณฑ์ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้าน IoT รูปแบต่างๆผสมผสานเข้ากับงานหัตถกรรม Craft เพื่อนำไปสุ่การผลิตระดับอุสาหกรรมและต่อยอดสู่การยกระดับเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการ รู้จักอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สามารถอ่านค่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆได้ สามารถคำนวณกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า สามารถติดตั้งอุปกรณ์ IoT และเชื่อมต่อกับระบบ Network รูปแบบต่างได้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการ โต๊ะวาง TV Studio On Top อัจฉริยะ ตู้หัวเตียงเซนเซอร์อัจฉริยะ Motion Safety นวัตกรรมโคมไฟ 6 เหลี่ยม Light and Sound โคมไฟสําหรับประดับตกแต่งภาย Temperature Lamp แบบอัจฉะริยะ
การประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศและความชื้นในดินในแปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สถานที่ติดตั้งจุดที่2คุณเตี่ยม หมั้นขันหมู่ 4 บ้านแม่สุขใน ตำบลวังซ้าย อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง อุปกรณ์ที่ติดตั้ง เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) ชุดตรวจวัดความชื้นในดิน (Soil Sensor)
ประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศและความชื้นในดินในแปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สถานที่ติดตั้งจุดที่1คุณสิทธิ์ อิ่นคำหมู่1 บ้านทุ่งทอง ตำบลทุ่งศรีทอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน อุปกรณ์ที่ติดตั้ง เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) ชุดตรวจวัดความชื้นในดิน (Soil Sensor)
ประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศความชื้นดิน ระดับน้ำในแปลงข้าวโพด สถานที่ติดตั้งจุดที่2 คุณวิฑูรย์ สาน้อยหมู่7 บ้านแคว้ง ตำบลพระพุทธบาท อำเภอเชียงกลางจังหวัดน่าน อุปกรณ์ที่ติดตั้ง เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) ชุดตรวจวัดความชื้นในดิน (Soil Sensor) ชุดตรวจวัดระดับน้ำ (Water Level)