12 มิถุนายน 2566
ศูนย์การเรียนรู้ระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน เพื่อการปลูกพืชสมุนไพรรองรับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลสุขภาพ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ เชียงใหม่ ผ่านโครงการ Halal Smart Farm ได้ลงพื้นที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์ Smart Farm และทำการทดสอบเพื่อใช้งาน ที่ เจเจฟาร์มหลังจากได้มีการสำรวจพื้นที่ และประเมินหน้างานร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแล จึงได้มีการพัฒนาระบบแปลงปลูกแบบ Outdoor ทำให้การใช้งานสามารถบริหารจัดการฟาร์มได้ง่ายยิ่งขึ้น การดำเนินการติดตั้งและทดสอบการใช้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีทั้ง 5 จุด ใน 4 จังหวัดภาคเหนือนตอนบน 1ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เกษตร และผู้ที่สนใจสามารถเข้าใจ ใช้งานได้ ประยุกต์ใช้เป็น โดยจะมีการอบรมเจ้าหน้าที่ (Train to Trainer) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ Halal Smart Farm ในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรนำนวัตกรรมและระบบเทคโนโลยี พัฒนาเป็นโรงเรือนอัจฉริยะ (Smart Farm) สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า ตอบโจทย์เทรนด์โลก (Product Development) ยกระดับสินค้า นำสินค้าส่งออกต่างประเทศ
10 มิถุนายน 2566
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ เชียงใหม่ เดินหน้าขยายศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะสมัยใหม่อย่างต่อเนื่อง ในครั้งนี้ติดตั้งชุดอุปกรณ์ติดตั้งที่ Stem Farm electric system design จ.ลำปาง หลังจากการวิเคราะห์ และพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแล เป็นการพัฒนาฟาร์มโรงเรือน (Indoor) โดยชุดอุปกรณ์สามารถใช้งานระบบ Water Irrigation & Sensor สำหรับการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่ดีสำหรับเกษตรกร และผู้ที่สนใจในจังหวัดลำปาง โดยการนำร่องติดตั้งชุดอุปกรณ์ Smart Farm เพื่อสร้างเป็นศูนย์การเรียนรู้ แบ่งปันองค์ความรู้ทางการเกษตร สามารถสร้างผลิตผล พืชพันธ์ที่มีคุณภาพ พร้อมรองรับตลาดฮาลาลด้านสุขภาพที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
8 มิถุนายน 2566
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ เชียงใหม่ เดินทางติดตั้ง และทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ Smart Farm เพื่อสร้างต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน เพื่อการปลูกพืชสมุนไพรรองรับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลสุขภาพ ที่อาร์มฟาร์ม อำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน โรงเรือนที่มีความพร้อมสำหรับทำการเกษตร โดยใช้ระบบการเรียนรู้ในรูปแบบ Hydropronic ระบบน้ำนิ่ง ทั้งยังติดตั้งระบบเซนเซอร์ลด Soil , npk เพื่อตอบโจทย์การใช้งานและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ทางศูนย์วิทยาศาสตร์ยังคงขยายพื้นที่การติดตั้ง เพื่อมุ่งเน้นให้เกษตรกร กลุ่มผู้ที่สนใจ สามารถสัมผัส เยี่ยมชม และศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตร ไปสู่การสร้างแหล่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนอีกด้วย